วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การเปลี่ยนโลโก้ร้านค้าใน Prestashop

 

เมื่อเราติดตั้ง Prestashop เสร็จเรียบร้อยแล้ว เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงอยากจะเปลี่ยนโลโก้ในทันที เนื่องจากโลโก้ถือเป็นสัญลักษณะประจำร้าน ซึ่งชี้บ่งความเป็นเจ้าของได้ดีนั่นเอง บทความนี้เราจะมาดูวิธีการเปลี่ยนโลโก้ประจำร้านกันครับ

สิ่งที่คุณควรรู้และทำความเข้าใจก่อนเปลี่ยนโลโก้ก็คือ ใน Prestashop คุณสามารถกำหนดลักษณะของโลโก้ที่แตกต่างกันได้ในแต่ละงาน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นและส่วนงามในแต่ละส่วนงานนั่นเอง เช่นโลโก้บนหน้าเว็บไซต์ กับโลโก้บนหัวจดหมาย (Email) สามารถมีความแตกต่างกันได้

สำหรับวิธีการในการเปลี่ยโลโก้นั้น ให้คลิกเมนู Preferences > Themes


ในส่วนของ Appearance นั้นจะเห็นว่าโลโก้ในแต่ละส่วนนั้นแยกออกจากกัน สามารถเลือกให้เหมาะสมกับงานได้ สำหรับตัวอย่างนี้ผมจะเปลี่ยนในส่วนของโลโก้หน้าร้านค้าเสียก่อน โดยการคลิกปุ่ม Browse ในส่วนของ Header logo 




เลือกไฟล์โลโก้ที่เตรียมไว้ และคลิกปุ่ม Open




คลิกปุ่ม Save บริเวณมุมบนขวามือของหน้าเว็บเพจ




ปรากฏข้อความเหมือนด้านล่างแสดงว่าเปลี่ยนโลโก้สำเร็จแล้ว




เมื่อไปดูที่หน้าเว็บไซต์ก็จะเห็นโลโก้ที่เราเปลี่ยนเรียบร้อยแล้ว หากยังไม่เปลี่ยนให้กดปุ่มคีย์บอร์ด F5




บทความที่คุณอาจสนใจ

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สร้างร้านค้าออนไลน์ต้องเตรียมอะไรบ้าง

หากคุณคือผู้เริ่มต้น คำถามนี้น่าจะเป็นคำถามแรก ๆ ที่อยู่ในใจคุณอย่างแน่นอน บทความนี้เราจะมาดูกันว่าจะสร้างร้านค้าออนไลน์ทั้งทีต้องเตรียมอะไรบ้าง

1.  เลือกใช้งาน CMS ให้เหมาะสม เนื่องจากขนาดของร้านไม่เท่ากัน หากร้านไม่ใหญ่มาก เลือกใช้งาน CMS ที่ไม่ซับซ้อนมากก็จะทำให้เว็บไซต์เสร็จได้เร็วขึ้น
2.  ภาพถ่ายของสินค้าในมุมต่าง ๆ   สินค้า 1 ชิ้นอาจมีภาพถ่ายในมุมต่าง ๆ ประมาณ 5 มุมเป็นอย่างน้อย และแต่ละภาพควรมีความชัดเจนมากที่สุด
3.  ข้อมูลของสินค้า เช่น ขนาด, สี, น้ำหนัก, แบรนด์ เป็นต้น เตรียมแยกหมวดหมู่ให้เป็นระเบียบ เมื่อนำข้อมูลไปใส่ในเว็บไซต์ จะสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว
4.  การชำระเงิน สามารถชำระผ่านระบบใดได้บ้าง
5.  ข้อมูลที่เป็นตัวอักษรต่าง ๆ เช่น ประวัติของร้าน, ข้อตกลงต่าง ๆ
6.  หนังสือรับรองที่ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า เช่น ตราสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ได้จากหน่วยงานราชการอย่างถูกต้อง
7.  การจัดส่งสินค้า จัดส่งด้วยไปรษณ๊ย์ หรือบริษัทเอกชนอื่น ๆ เนื่องจากต้องนำมาคำนวณต้นทุน
8.  กล่องสำหรับแพ็คสินค้าส่งให้ลูกค้า มีขนาดอย่างไร ราคาเท่าไหร่ นำมาคำนวณต้นทุนเช่นกัน
9.  สต๊อกหรือไม่สต๊อกสินค้า มีขั้นตอนในการบริหารสินค้าคงคลังอย่างไร
10.  เช่าโฮสติ้งที่ไหน โดเมนชื่ออะไร

ทั้งหมดนี้คือรายละเอียดแบบคร่าว ๆ ที่คุณจะต้องเตรียมให้พร้อม เพราะจะช่วยให้เว็บไซต์ของคุณเสร็จได้เร็วขึ้น


บทความที่คุณอาจสนใจ

เข้าใจโครงสร้างของร้านค้าออนไลน์



ก่อนที่เราจะสามารถใช้งาน CMS ต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับขายของออนไลน์นั้น เราจะต้องเข้าใจโครงสร้างต่าง ๆ ของ CMS ที่คุณเลือกใช้ให้ได้เสียก่อน บทความนี้จะกล่าวถึงภาพรวม ๆ ของ CMS ที่ใช้สำหรับสร้างร้านค้าออนไลน์ ดังนี้

1.  ส่วนที่เป็นระบบ ส่วนนี้จะปรากฏบนหน้าโฮมเพจ และเว็บเพจต่าง ๆ เช่น รถเข็น มักจะปรากฏในหลาย ๆ หน้าภายในเว็บไซต์เหล่านั้น เชื่อหรือไม่ว่า รถเข็น ที่คุณมองเห็นในเว็บไซต์นั้น เชื่อมโยงกับระบบภายในของเว็บไซต์อย่างมากมาย เช่น ประวัติลูกค้า, การชำระเงิน, การจัดส่งสินค้า หรือแม้กระทั่งการออกใบเสร็จรับเงิน ส่วนที่เป็นระบบนี้คุณจะต้องศึกษาเรียนรู้และ ทำความเข้าใจเป็นอย่างมาก ซึ่งจะมีอธิบายเป็นขั้นตอนซึ่งเรียกว่า Step By Step เลยทีเดียว

2.  ส่วนที่เป็นหน้าเว็บไซต์ธรรมดา แน่นอนครับสิ่งที่เราสร้างนี้คือเว็บไซต์ ย่อมต้องมีส่วนที่เป็นข้อความต่าง ๆ สำหรับอธิบายให้ลูกค้าได้เข้าใจ เช่น ประวัติของร้านค้า, ข้อตกลงในการใช้บริการต่าง ๆ เป็นต้น ข้อความเหล่านี้มักถูกสร้างเป็นหน้าเว็บเพจธรรมดา ไม่มีอะไรซับซ้อน เรียกได้ว่าพิมพ์อย่างไรได้อย่างนั้นเลย

3.  ส่วนที่เป็นเทมเพลท หรือแม่แบบของเว็บไซต์นั่นเอง เช่น สี รูปแบบ ขนาดของตัวอักษร การจัดคอมลัมน์การวางตำแหน่งไอค่อน สิ่งเหล่านี้ล้วนอยู่ในการจัดการเทมเพลท หากต้องการเว็บไซต์สวย ๆ และมีความสามารถก็คงต้องจ่ายสตางค์กันมากหน่อย เพื่อซื้อเทมเพลทนั้นมาใช้งาน

4.  ส่วนที่เป็นรูปภาพ ผมขอย้ำเลยว่า ถ้าจะขายของออนไลน์แล้วหละก็ พยายามถ่ายรูปให้สวย และมีความหมาย เพราะมันจะช่วยให้คุณขายของได้ง่ายขึ้น



ระบบหลังร้านของ Prestashop คืออะไร

จากบทความที่ผ่านมา ผมได้กล่าวถึงระบบหน้าร้านไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เชื่อว่าเมื่ออ่านบทความดังกล่าวจะทำให้เกิดความเข้าใจ Prestashop มากยิ่งขึ้น สำหรับบทความนี้เราจะมาขยายความในส่วนของระบบหลังร้านกันครับ

ระบบหลังร้านคือส่วนที่เป็นพื้นที่สำหรับเจ้าของร้านและพนักงานเท่านั้นที่สามารถเข้ามาได้ พื้นที่ส่วนนี้จะถูกควบคุมด้วยชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน และมี URL เป็นการส่วนตัว บุคคลทั่วไปไม่สามารถเข้ามาในส่วนนี้ได้เพราะไม่รู้ URL นั่นเอง 

หลังจากเข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านเสร็จเรียบร้อยแล้วจะพบกับหน้าต่างสำหรับปรับแต่ง Prestashop ให้เป็นไปตามที่เราต้องการ ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนรูปแบบของเว็บไซต์ การเพิ่ม ลด หรือกำหนดราคาสินค้า เป็นต้น





ระบบหน้าร้าน Prestashop คืออะไร

หลังจากติดตั้ง Prestashop เรียบร้อยแล้ว คุณควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการทำงานของ Prestashop ให้มากขึ้น ทั้งนี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถใช้งาน Prestashop ได้อย่างรวดเร็วนั้นเอง บทความนี้จะพาคุณมารู้จักกับระบบหน้าร้านของ Prestashop กันครับ 

ระบบหน้าร้านก็คือหน้าเว็บไซต์นั่นเอง โดยเฉพาะหน้าแรกที่เราเรียกว่าโฮมเพจนั้นจะต้องมีความสวยงาม ดึงดูดใจให้คนเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรานั่นเอง 

สำหรับหน้าโฮมเพจของ Prestashop จะมีความแตกต่างจากเว็บไซต์โดยทั่ว ๆ ไป เนื่องจากเป็นเว็บไซต์ที่ใช้สำหรับขายสินค้า เพราะฉะนั้นจึงจะมีส่วนประกอบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขายสินค้า เช่น ตะกร้าสินค้า สำหรับใน Prestashop จะเรียกว่ารถเข็น

ระบบหน้าร้านนี้เป็นส่วนให้ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ (ลูกค้า) เข้ามาเลือก อ่านรายละเอียด ของสินค้า เปรียบเทียบสินค้า เมื่อถูกใจสินค้าชิ้นใดก็สามารถคลิกเลือกสินค้าที่ต้องการ ซึ่งสินค้าดังกล่าวจะถูกนำไปไว้ในรถเข็น เพื่อเข้าสู่กระบวนการอื่น ๆ ต่อไป เช่น การชำระเงิน และการจัดส่งสินค้าเป็นต้น ระบบหน้าร้านที่ดีนั้นจะต้องมีความสวยงาม และใช้งานได้ง่าย 





บทความที่คุณอาจสนใจ

Prestashop ร้านค้า 2 ภาษา

หลังจากติดตั้ง Prestashop เสร็จเรียบร้อย ได้เห็นหน้าตาของเว็บไซต์ก่อนปรับแต่ง รู้สึกว่ามันใช้ได้เลยทีเดียว มีเมนูต่าง ๆ รวมถึงสไลด์โชว์มาให้อย่างครบครับ เรียกว่าสามารถใช้งานได้ทันทีเลยก็ว่าได้ (หากคุณไม่คิดอะไรมาก :) ) แต่สิ่งหนึ่งที่ผมค่อนข้างชื่นชอบก็คือ ที่บริเวณมุมบนขวามือจะมีรูปธงชาติสหรัฐอเมริกาอยู่ซึ่งแสดงว่าขณะนี้เราให้หน้าเว็บไซต์ภาษาอังกฤษนั่นเอง ผมเลยลองคลิกตรงลูกศรด้านหลังธง เห็นมีธงชาติไทยอยู่ จึงคลิกเลือกธงชาติไทย



ปรากฏว่าเมนูและรายละเอียดต่าง ๆ ได้กลายเป็นภาษาไทยที่อ่านเข้าใจง่ายเกือบทั้งหมด Prestashop มันดีขนาดนี้เลยเหรอ





บทความที่คุณอาจสนใจ

ติดตั้ง Prestashop ตอนที่ 7

เมื่อติดตั้งเสร็จเรียบร้อยจะปรากฏหน้าจอตามภาพด้านล่าง ซึ่งมีทางเลือกให้เลือก 2 ทางประกอบด้วย
     Manage your store : สำหรับไปยังหลังร้านเพื่อปรับแต่งร้าน เช่น เพิ่มสินค้า กำหนดราคาเป็นต้น
     Discover your store :  ไปยังหน้าร้านเพื่อหรือหน้าเว็บไซต์ของคุณนั่นเอง

    


ก่อนจะไปยังหลังร้านแนะนำให้ลบโฟลเดอร์ install ก่อนมิเช่นนั้นจะไม่สามารถไปยังระบบหลังร้านได้




เมื่อคลิก Discover your store ระบบจะนำคุณไปยังหน้าร้านหรือหน้าเว็บไซต์ที่ลูกค้าสามารถเข้ามาเยี่ยมชมสินค้าต่าง ๆ




หากคลิก Manage your store ระบบจะพามายังหลังร้านซึ่งคุณต้องกรอก Email และ Password ที่คุณตั้งเอาไว้ตอนติดตั้ง Prestashop




เมื่อเข้าสู่ระบบได้แล้วจะปรากฏหน้าเว็บเพจสำหรับบริหารจัดการร้านค้า ตามภาพด้านล่าง



หมายเหตุ สิ่งสำคัญที่สุดหลังจากติดตั้งเสร็จเรียบร้อยก็คือ คุณจะต้องคัดลอกที่อยู่ของระบบหลังร้านเอาไว้ให้ดี มิเช่นนั้นคุณอาจจะไม่สามารถจัดการร้านค้าของคุณได้อีก เนื่องจากไม่ทราบที่อยู่ของหลังร้านนั่นเอง 

เช่น http://localhost/ps/admin4715/index.php?controller=AdminHome&token=015e612b5ad9548f006a241c1fd786cc

ซึ่งคุณอาจจะลบเหลือแค่นี้ก็ได้ครับ http://localhost/ps/admin4715


บทความที่คุณอาจสนใจ

ติดตั้ง Prestashop ตอนที่ 6

ขั้นตอนนี้สำคัญไม่น้อยเพราะเป็นการปรับแต่ง Configure ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่าการปรับแต่งสภาพแวดล้อมให้กับ Prestashop หรือร้านค้าของคุณนั่นเอง โดยเน้นไปที่การกรอกข้อมูล ที่เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับฐานข้อมูลที่คุณสร้างให้ถูกต้อง หากข้อมูลต่าง ๆ ไม่ถูกต้องจะไม่สามารถติดตั้ง Prestashop ต่อไปได้ สำหรับรายละเอียดประกอบด้วย

     Database server address : ระบบใส่มาให้เรียบร้อยนั่นคือ localhost
     Database name : คุณสร้าง database ชื่ออะไรไว้ก็พิมพ์ลงไปให้ถูกต้องครับ
     Database login : พิมพ์ชื่อผู้ใช้ database ลงไปให้ถูกต้อง
     Database password : พิมพ์รหัสผ่านของชื่อผู้ใช้ database ลงไปให้ถูกต้อง
     Table prefix : ไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนค่าแต่อย่างใด




คุณอาจจะทดสอบการเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลโดยการคลิกปุ่ม Test your database connection now! หากเชื่อมต่อได้จะปรากฏข้อความ Database is connected (ตามภาพด้านล่าง)



คลิกปุ่ม Next เพื่อเข้าสู่กระบวนการติดตั้งในขั้นตอนต่อไป ซึ่งต้องใช้เวลาในการติดตั้งสักระยะหนึ่ง





บทความที่คุณอาจสนใจ

ติดตั้ง Prestashop ตอนที่ 5

การติดตั้งในขั้นตอนนี้เป็นการใส่รายละเอียด หรือข้อมูลพื้นฐานให้กับร้านค้าที่สร้างด้วย Prestashop ของคุณ เมื่อเข้าสู่หน้าจอนี้แล้วก็เตรียมข้อมูลของคุณ และ กรอกข้อมูลให้ครบถ้วนโดยเริ่มจากตั้งชื่อร้านของคุณที่ช่อง Shop name และเลือกประเภทธุรกิจของคุณที่ช่อง Main Activity สำหรับช่อง Country ก็คลิกเลือก Thailand



จากนั้นกรอกข้อมูลส่วนตัวของคุณ
     First name : พิมพ์ชื่อของคุณลงไป (ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ครับ)
     Last name : พิมพ์นามสกุลของคุณลงไป (ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ เช่นเดียวกัน)
     E-mail : พิมพ์อีเมลล์ที่ใช้งานเป็นประจำ หรือใช้งานได้จริงลงไป
     Shop password : พิมพ์รหัสผ่านที่รู้เฉพาะคุณลงไป (เป็นภาษาอังกฤษไม่น้อยกว่า 8 ตัวอักษร)
     Re-type to confirm : พิมพ์รหัสผ่านซ้ำอีกครั้ง ให้เหมือนกับครั้งแรกทุกประการ

คลิกปุ่ม Next เพื่อเข้าสู่กระบวนการติดตั้งในขั้นตอนต่อไป






บทความที่คุณอาจสนใจ

วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ติดตั้ง Prestashop ตอนที่ 4

บทความนี้จะทำให้คุณเห็นรูปร่างของ Prestashop มากขึ้น จากบทความที่ผ่านมาเมื่อเราสร้างฐานข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้วสามารถปิดหน้าต่าง หรือออกจากระบบของ phpMyAdmin ได้ทันที จากนั้นให้เปิดโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ขึ้นมาใหม่ อีกครั้งหนึ่งแล้วพิมพ์ http://localhost/ps/install/ ในช่อง Address เพื่อเข้าสู่กระบวนการติดตั้ง เมื่อพิมพ์เสร็จแล้วกดปุ่ม Enter




จะปรากฏหน้าจอสำหรับติดตั้ง Prestashop ในขั้นตอนแรก ซึ่งภาษาที่ใช้ในการติดตั้งคือภาษาอังกฤษ จากภาพจะเห็นว่าได้เลือกเอาไว้ที่ภาษาอังกฤษเรียบร้อยแล้ว จากนั้นคลิกปุ่ม Next (สีเขียว) ซึ่งอยู่บริเวณด้านล่างขวามือของหน้าจอนี้




เข้าสู่หน้าจอสำหรับให้เราอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับข้อตกลงต่าง ๆ ในการใช้งาน Prestashop ให้คลิกเลือก





ติดตั้ง Prestashop ตอนที่ 3

ผ่านไปแล้ว 2 ตอนสำหรับการติดตั้ง Prestashop ซึ่งผมต้องการให้ข้อมูลที่ละเอียดมากที่สุด ซึ่งจะช่วยให้ใคร ๆ ก็ได้ที่อยากมีเว็บไซต์สำหรับขายของออนไลน์ สามารถใช้งานได้นั่นเอง สำหรับท่านใดที่มีความรู้พื้นฐานเหล่านี้อยู่แล้ว สามารถข้ามไปอ่านบทต่อ ๆ ไปได้เลยครับ

บทความนี้เราจะมาสร้างฐานข้อมูลกันครับ ซึ่งเป็นกระบวนการพื้นฐานสำหรับการติดตั้ง Prestashop และ CMS ตัวอื่น ๆ ก็ต้องทำแบบเดียวกันนี้ นึงถึงตอนที่แล้วเอาไว้ให้ดีครับ เราได้เข้ามาในส่วนของ localhost ซึ่ง

บริเวณเมนูด้านซ้ายจะมีเมนูให้เลือกมากมาย ให้มองหาเมนู Tools (ตามภาพ) ซึ่งเป็นเมนูที่เราจะใช้สำหรับสร้างฐานข้อมูลกันครับ คลิกเลือกเมนู phpMyAdmin เพื่อเข้าสู่กระบวนการสร้างฐานข้อมูล ซึ่งจะมีลักษณะหน้าจอตามภาพด้านล่างซึ่งเป็นภาพรวมของ phpMyAdmin (อยากเห็นภาพขนาดใหญ่ ให้คลิกที่รูปภาพเพื่อขยายภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้น)






คลิกเมนู Databases และพิมพ์ชื่อฐานข้อมูลลงไป จากตัวอย่างผมพิมพ์ prestashop_db1 และเลือก utf8_general_ci เมื่อเสร็จเรียบร้อยคลิกปุ่ม Create




เมื่อสร้างฐานข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้ว ที่เมนูด้านซ้ายมือจะพบฐานข้อมูลที่เราสร้างเรียบร้อยแล้วครับ ซึ่งพร้อมสำหรับเข้าสู่กระบวนการติดตั้งในขั้นตอนต่อไป




บทความที่คุณอาจสนใจ

ติดตั้ง Prestashop ตอนที่ 2

การติดตั้ง Prestashop หรือ CMS ตัวอื่น ๆ ก็ตาม หากติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ที่เรามักเรียกว่า Localhost นั้น มีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องทดสอบว่าโปรแกรมจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์เป็น Server ของคุณนั้นทำงานอยู่หรือไม่










จากตัวอย่างในภาพนี้ผมจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์เป็น Server ด้วย XAMPP ผมจะเริ่มให้มันทำงานโดยคลิกที่ไอค่อน XAMPP Control Panel ซึ่งอยู่ใน Start Menu นั่นเอง เมื่อคลิกแล้วจะได้หน้าต่างสำหรับควบคุมการทำงานของ XAMPP ขึ้นมา ซึ่งมีลักษณะตามภาพด้านล่าง


















คลิกปุ่ม Start ด้านหลัง Apache และ MySQL หากโปรแกรมทำงานจะเห็นว่ามีสีเขียวปรากฏในส่วนของ Apache และ MySQL


















จากนั้นเปิดโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ขึ้นมาแล้วพิมพ์ localhost ในช่อง Address จะปรากฏหน้าเว็บเพจตามภาพด้านล่าง




วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ติดตั้ง Prestashop ตอนที่ 1

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าการสร้างเว็บไซต์นั้นต้องมีพื้นที่สำหรับวางเว็บไซต์ที่เรียกว่า Hosting (Server) หรือคุณอาจจะทดลองสร้างเว็บไซต์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของคุณ ก็มีความจำเป็นต้องสร้าง Server เช่นเดียวกัน การจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลนั้นเราเรียกว่า Localhost ซึ่งจะต้องใช้ซอฟต์แวร์สำหรับสร้างเว็บเซิฟเวอร์ เช่น Appserv, Wamp, Xampp เป็นต้น สำหรับบทความนี้เราจะมาดูวิธีการติดตั้ง Prestashop บน Localhost กันครับ  ก่อนอื่นแนะนำให้ศึกษาและเรียนรู้เกี่ยวกับการจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเว็บเซิฟเวอร์ได้จาก Link นี้ http://www.joomla-thailand.blogspot.com/2013/11/web-server.html

หากคุณ Download และติดตั้งเว็บเซิฟเวอร์เสร็จเรียบร้อยแล้ว เราก็สามารถเริ่มติดตั้ง Prestashop กันได้เลย โดยแต่ละโปรแกรมที่ใช้สำหรับสร้างเว็บเซิฟเวอร์นั้น จะมีโฟลเดอร์สำหรับวางเว็บไซต์โดยเฉพาะ ซึ่งในแต่ละโปรแกรมนั้นมีความแตกต่างกัน ผมยกตัวอย่างของ XAMPP ก็แล้วกันครับ หากคุณจะติดตั้ง CMS ไม่ว่าจะเป็นประเภทใด หรือจากค่ายไหนก็ตามคุณจะต้องวางไฟล์ให้อยู่ในโฟลเดอร์ htdocs หากมี CMS มากกว่า 1 ตัวจะต้องสร้างโฟลเดอร์แยกออกจากกันให้ชัดเจนอีกด้วย

เมื่อ Download Prestashop เสร็จเรียบร้อยแล้ว จะได้ Zip ไฟล์ตามภาพด้านล่าง ให้แตกไฟล์ไปวางในโฟลเดอร์ที่เว็บเซิฟเวอร์กำหนด ของผมก็วางใน C:\xampp\htdocs เป็นต้น และผมต้องสร้างโฟลเดอร์ขึ้นมาเพื่อวางไฟล์ของ Prestashop เนื่องจากผมทดลองใช้งาน CMS อยู่หลายตัวนั่นเอง ในตัวอย่างนี้ผมสร้างโฟลเดอร์ชื่อ ps เพราะฉะนั้นจะแตกไฟล์ในเข้าไปที่ C:\xampp\htdocs\ps นะครับ

Download Prestashop



อย่างที่ได้อธิบายในบทความก่อนหน้านี้แล้วว่า Prestashop นั้นเป็นฟรีซอฟแวร์ เราจึงสามารถ Download มาใช้งานได้ฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย โดยเข้าไปที่เว็บไซต์ของ Prestashop และ Download Prestashop รุ่นใหม่ ๆ ได้อยู่เสมอ คุณสามารถ Download Prestashop ได้จาก Link >> http://www.prestashop.com/en/download  เมื่อเข้าสู่เว็บไซต์แล้วคลิกที่ปุ่ม DOWNLOAD NOW โดยที่ไม่จำเป็นต้องกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มด้านซ้ายมือ แต่หากต้องการรับข่าวสารต่างจาก Prestashop แนะนำให้กรอกข้อมูลในแบบฟอร์มด้วยครับ

บทความที่คุณอาจสนใจ

Prestashop คืออะไร



 Prestashop เป็นฟรีซอฟแวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้สร้างเว็บไซต์สำหรับขายของออนไลน์ มีเว็บไซต์ขายของออนไลน์ที่ประสบความสำเร็จจากการใช้ Prestashop มากกว่า 150,000 เว็บไซต์ ด้วยคุณสมบัติที่ตอบสนองการเป็นร้านค้าออนไลน์มากกว่า 310 คุณสมบัติ

ความสามารถบางส่วนของของ Prestashop
          การจัดการรายการสินค้า เช่น การจัดการสินค้าคงคลัง, การส่งออกสินค้าไปยังอีเบย์และอื่น ๆ, สามารถเลือกจำนวนสินค้าต่อหน้า, ไม่จำกัดจำนวนสินค้า รายการ และคุณสมบัติของสินค้า, มีระบบการเปรียบเทียบสินค้า

          การแสดงสินค้า  สามารถแสดงปริมาณสินค้าที่มีอยู่, ใส่ภาพประกอบได้จำนวนมาก และสามารถซูมได้, มีระบบสินค้าที่เกี่ยวข้อง พร้อมบันทึกรายการสินค้าที่คุณสนใจ, มีระบบรีวิวสินค้า และส่งให้เพื่อนได้

          ระบบชำระเงินที่ครบถ้วน  เช่น ชำระเงินผ่านบัตรเครดิต, เช็ค, การโอนเงิน, กำหนดอัตราภาษีโดยอัตโนมัติตามอัตราภาษีของแต่ละประเทศ, สามารถสร้างกฏ และกำหนดโปรโมชั่นได้

          การจัดส่งสินค้า  ประกอบด้วย ส่วนลดการจัดส่งสินค้า, การกำหนดค่าธรรมเนียมตามราคา หรือน้ำหนัก, ทำงานร่วมกับ USPS, FedEx, UPS, แคนาดาโพสต์ ได้

          การจัดการเว็บไซต์ มีระบบที่แบ่งแยกระหว่างผู้ดูแลระบบ และผู้ใช้งานออกจากกันชัดเจน, ปรับแต่งเว็บไซต์ให้สวยงามด้วยเทมเพลท, มีระบบจัดการเว็บไซต์หลายร้านค้าที่เรียกว่า Multistore

และที่ดูจะแปลกใหม่สำหรับการจัดการร้านค้าออนไลน์ก็คือระบบการตลาด ที่มีเครื่องไม้เครื่องมือสำหรับทำการตลาดมาให้อย่างครบครัน จากที่ได้ยกตัวอย่างมาข้างต้นนั้นจะเห็นว่า Prestashop เป็น CMS ที่เหมาะสมสำหรับผู้ประการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นอย่างมาก

บทความที่คุณอาจสนใจ